พ.ร.บ.
คอมพิวเตอร์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์คืออะไร
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มีเพื่อกำหนดความผิดในการกระทำที่มี“ระบบคอมพิวเตอร์” เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์นี้ เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
คอมพิวเตอร์วางตัก คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน
รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา
ธนาคาร ฯลฯ
เราต่างใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แน่นอนว่าย่อมมีกลุ่มหรือบุคคลที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการกระทำความผิด หรือกระทำความผิดผ่านระบบเหล่านี้ เช่น ขโมยข้อมูล ป่วนข้อมูลและระบบให้เสียหาย การกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ทุกวันนี้คนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตเป็นดังห้องสมุดขนาดใหญ่
โดยสรุปแล้ว ทุกวันนี้เราเลี่ยงไม่พ้นระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบตัวเรา และนั่นทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเรามากเช่นกัน
เราต่างใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แน่นอนว่าย่อมมีกลุ่มหรือบุคคลที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการกระทำความผิด หรือกระทำความผิดผ่านระบบเหล่านี้ เช่น ขโมยข้อมูล ป่วนข้อมูลและระบบให้เสียหาย การกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ทุกวันนี้คนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตเป็นดังห้องสมุดขนาดใหญ่
โดยสรุปแล้ว ทุกวันนี้เราเลี่ยงไม่พ้นระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบตัวเรา และนั่นทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเรามากเช่นกัน
ความผิดที่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.
· การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
· การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์
ทีผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ
· การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
· การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
· การทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม
· ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
· การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์
· การจําหน่ายชุดคําสั่งทีจัดทําขึ้นเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ
ในการกระทําความผิด
· การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทําความผิดอื่น
· การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ทีเป็นภาพของบุคคล
ผู้ให้บริการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.
1. ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์
2. ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า
ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
- ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
- ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ
ทีเรียกว่า content
provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น
ข้อมูลของผู้ใช้บริการ
ผู้ให้บริการทังทีเสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม
ต้องเก็บข้อมูลเท่าทีจําเป็น เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้
ไม่ว่าจะเป็นชื่อนามสกุล เลขประจําตัวประชาชนUSERNAME
หรือ PIN CODE ไว้ ไม่น้อยกว่า 90
วันนับตังแต่การใช้บริการสิ้นสุดลงหากผู้ให้บริการไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้ถือว่าทําผิดและอาจถูกปรับสูงถึง
50,000 บาทรวมถึงเว็บบอร์ดทังหลาย
ซึงมีผู้มาโพสเป็นจํานวนร้อย -พัน รายต่อวัน เว็บมาสเตอร์
และผู้ดูแลโฮสติงหรือผู้ทําอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อาจเสียงต่อการระมัดระวังข้อความเหล่านั้น
พระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปเพราะหากท่านทําให้เกิดการกระทําความผิดทางคอมพิวเตอร์(ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตังใจ)ก็อาจจะมีผลกับท่าน และทีสําคัญ
คือผู้ให้บริการซึงรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆทีเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน
นิสิต นักศึกษาในองค์กรผู้รับผิดชอบมีหน้าทีดูแลอย่างรอบคอบในฐานะ
"ผู้ให้บริการ"
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
ในฐานะบุคคลธรรมดาไม่ควรกระทําในสิงต่อไปนี้เพราะอาจจะทําให้ “เกิดการกระทำความผิด"
1. ไม่ควรบอก passwordแก่ผู้อื่น
2. อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนทีเพื่อเข้าเน็ต
3. อย่าติดตังระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือทีทํางานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
4. อย่าเข้าสู่ระบบด้วยuser ID และ password ทีไม่ใช่ของท่านเอง
5. อย่านํา user ID และ passwordของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
6. อย่าส่งต่อซึงภาพหรือข้อความหรือภาพเคลื่อนไหวทีผิดกฎหมาย
7. อย่า กด "remember me"หรือ "remember
password"ทีเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะและอย่า log-in เพื่อทําธุรกรรมทางการเงินทีเครื่องสาธารณะ
8. อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN)ทีเปิดให้ใช้ฟรีโดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
ความผิดอาญาตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไปดู
เจอคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเค้า แล้วบอกให้คนอื่นรู้ เจอคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดีๆ แล้วแอบไปล้วงข้อมูลของเขาออกมา
เจอคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั ว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา เจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขา เราดันมือบอนแก้ เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของเค้าทำงานอยู่ดีๆ เรายิง packet หรือ message หรือ virus หรือtrojan
หรือ worm หรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง เจอคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเลย เราก็ทำตัวเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้ เขาเบื่อหน่ายรำคาญ เจอปรับไม่เกิน100,000บาท
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วทำให้เราๆ ท่านๆ บุคคลทั่วไปเกิดความเสียหาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000บาท ก่อความเสียหายต่อความั่นคงของประเทศ เศษรฐกิจ และสังคม จำคุกตั้งแต่ 3 - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000บาท ถึง300,000บาท และถ้าทำให้ใครตายก็จะปรับโทษเป็น จำคุกตั้งแต่ 10ปีถึง 20ปี
9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใครๆทำเรื่องแย่ๆใน ข้อข้างบนได้ เจอคุกไม่เกินปีนึง หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10.โป๊,โกหก, ปลอมแปลง,กระทบความมั่นคง,ก่อการร้าย, และส่งต่อข้อมูลทั้งๆที่รู้ว่าผิดตามที่กล่าวมาข้างต้น เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วสนับสนุน/ยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เท่ากับคนที่ทำเลย
12. ใครอยากเป็นศิลปินข้างถนน ที่ชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อแล้วเอาไปโชว์ผลงานบนระบบคอมพิวเตอร์ให้ใครต่อใครดู เตรียมใจไว้เลยมีสิทธิ์โดน
เจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย อย่าคิดว่ารอด โดนแหงๆ ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน
เจอคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเค้า แล้วบอกให้คนอื่นรู้ เจอคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดีๆ แล้วแอบไปล้วงข้อมูลของเขาออกมา
เจอคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั ว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา เจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขา เราดันมือบอนแก้ เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของเค้าทำงานอยู่ดีๆ เรายิง packet หรือ message หรือ virus หรือtrojan
หรือ worm หรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง เจอคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเลย เราก็ทำตัวเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้ เขาเบื่อหน่ายรำคาญ เจอปรับไม่เกิน100,000บาท
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วทำให้เราๆ ท่านๆ บุคคลทั่วไปเกิดความเสียหาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000บาท ก่อความเสียหายต่อความั่นคงของประเทศ เศษรฐกิจ และสังคม จำคุกตั้งแต่ 3 - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000บาท ถึง300,000บาท และถ้าทำให้ใครตายก็จะปรับโทษเป็น จำคุกตั้งแต่ 10ปีถึง 20ปี
9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใครๆทำเรื่องแย่ๆใน ข้อข้างบนได้ เจอคุกไม่เกินปีนึง หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10.โป๊,โกหก, ปลอมแปลง,กระทบความมั่นคง,ก่อการร้าย, และส่งต่อข้อมูลทั้งๆที่รู้ว่าผิดตามที่กล่าวมาข้างต้น เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วสนับสนุน/ยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เท่ากับคนที่ทำเลย
12. ใครอยากเป็นศิลปินข้างถนน ที่ชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อแล้วเอาไปโชว์ผลงานบนระบบคอมพิวเตอร์ให้ใครต่อใครดู เตรียมใจไว้เลยมีสิทธิ์โดน
เจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย อย่าคิดว่ารอด โดนแหงๆ ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
แนวทางการปฏิบัติ
และ สรุปรายละเอียด
พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
เอกสารฉบับนี้สรุปเนื้อหาจาก 1) พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2550 (พรบ.ความผิดคอมพิวเตอร์ 2550) และ 2) ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลทางจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ (ประกาศ ICT)
ซึ่งคัดเฉพาะส่วนที่มีผลบังคับใช้กับผู้ดูแลและผู้ใช้งานระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์ทุกท่าน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น
ส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ
ให้ระบบ
คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้
หรือ ใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข
หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือ
ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร
ย่อมก่อให้เกิด ความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ
รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรม อันดีของประชาชน
สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
1. คำแนะนำวิธีปฏิบัติ ตาม พรบ.
ความผิดคอมพิวเตอร์ 2550
· ไม่ตัดต่อเผยแพร่ภาพตัดต่อของผู้อื่น
ที่ทำให้เขาเสียหายหรือเสียชื่อเสียง
· ก่อนดาวโหลดโปรแกรมหรือข้อมูลจากเว็บไซต์
ควรอ่านเงื่อนไขให้ละเอียดเสียก่อน
· ไม่ฟอร์เวิร์ดอีเมล์ หรือ Clip ภาพลามกอนาจาร หรือข้อความไม่เหมาะสม
· ไม่เผยแพร่ Spam mail หรือไวรัส
· ไม่เปิดเผยมาตรการระบบคอมพิวเตอร์ให้ผู้อื่นล่วงรู้
· ไม่ขโมยข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
· ระวังการ Chat กับคนแปลกหน้า
อย่าหลงเชื่อเขาง่ายๆ
· อย่าลืม ลงโปรแกรมป้องกันไวรัสและสปายแวร์
· ไม่แฮกระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
· ไม่ควรบันทึก Password ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์และควรเปลี่ยน Password
ทุกๆ 3 เดือน
· ไม่แอบดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
· ไม่นำเข้าข้อมูลหรือภาพลามก อนาจาร เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
2. สรุป
เนื้อหาพรบ.ความผิดคอมพิวเตอร์ 2550 และประกาศ ICT
การกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดตามพรบ.
(สำหรับผู้ใช้งาน)
1. การล่วงล้ำเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ (เช่นหน้าเวบ หรือ directory/folder) ของผู้อื่นที่มีมาตรการป้องกันไว้โดยเฉพาะ
รวมถึงหากผู้ที่ทราบมาตรการการป้องกันนำมาตรการที่ล่วงรู้มาไปเผยแพร่
2. การดักจับข้อมูลของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการสื่อสาร
3. การทำลาย แก้ไข
หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ
4. การกระทำการใดๆเพื่อทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ
ชะลอ หรือถูกรบกวน
5. การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ
Email ที่ปกปิด/ปลอมแปลงที่มาของข้อมูล
(spam mail) ที่เป็นการรบกวนผู้อื่น
6. การนำข้อมูลไม่เหมาะสมเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและประเทศ ตัวอย่างข้อมูลไม่เหมาะสมได้แก่:
ข้อมูลปลอม, ข้อมูลอันเป็นเท็จ,
ข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ, และภาพลามก
7. การเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว
8. การยอมให้ผู้อื่นบรรจุข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
ลงบนระบบคอมพิวเตอร์ที่ตนรับผิดชอบ
9. การสร้าง ตัดต่อ
ดัดแปลงภาพของผู้อื่น ที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรืออับอาย
10. การเผยแพร่ software ที่เป็นเครื่องมือในการทำผิดตามข้ออื่นๆ
ข้อปฏิบัติ
สำหรับผู้ดูแลระบบ
1. ไม่สนับสนุนหรือยินยอมให้ผู้ใช้บริการนำเข้า
หรือเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเขาไปในระบบคอมพิวเตอร์
2. ระงับการเผยแพร่เว็บไซต์ที่มีข้อมูลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคง
ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
3. ให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการสืบสวน
สอบสวน หาตัวผู้กระทำผิด
4. ผู้ให้บริการจะต้องเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบไว้อย่างน้อย
90 วัน
5. ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องได้รับการปกป้องให้มีความน่าเชื่อถือ
และไม่ถูกเปลี่ยนแปลงได้จากผู้ใช้และผู้ดูแลระบบ การเข้าถึงข้อมูล
(แต่ห้ามเปลี่ยนแปลง) จะกระทำได้โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
6. ข้อมูลที่เก็บนั้น
จะต้องครอบคลุมการเข้าใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทุกรูปแบบ (เช่นทั้ง wired และ wireless) และจะต้องสามารถระบุตัวผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้จริง
7. ผู้ให้บริการต้องตั้งเวลาของอุปกรณ์ทุกชนิดให้ตรงกับสากล
โดยผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิวินาที
8. ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่ผู้ให้บริการต้องจัดเก็บคือ
o การเข้าถึงระบบเครือข่าย: User ID, วันเวลาการเข้าใช้งาน,
IP Address ของเครื่องที่ใช้, และหมายเลขสายที่เรียกเข้า
(เช่น กรณี Modem หรือ ADSL)
o E-Mail: Message ID, Email ของผู้รับและผู้ส่ง,
วันเวลาการติดต่อและใช้งาน, IP Address ของเครื่องที่เข้ามาใช้งาน,
User ID ของผู้ใช้งาน (ถ้ามี), POP3/IMAP4 Log
o File Transfer/File Sharing: วันเวลาการเข้าใช้งาน,
IP Address ของเครื่องผู้ใช้, User ID (ถ้ามี),
path และ file name
o Web Server: วันเวลาการติดต่อ, IP Address ของเครื่องผู้ใช้, คำสั่งการใช้งานเวบ, URI (หน้าเวบที่เรียกใช้)
o Instant Messaging (เช่น MSN): วันเวลาการติดต่อ,
IP Address ของผู้ใช้
- ที่มาของข้อมูล : http://it.sci.ubu.ac.th/document/law/index.cfm
ที่มาของข้อมูล : http://www.maejonet.mju.ac.th/wtms_newsDetail.aspx?nID=17285
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560
ถ้ายังจำกันได้ถึงการผลักด้น พระราชบัญญัติ
(พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม
เมื่อปีที่ผ่านมา (2559)
และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่
24 มกราคม
ล่าสุด มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24
พ.ค.นี้
เตือนความจำกันสักหน่อย
เพื่อการใช้ออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย สำหรับสาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน
พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2มีสาระสำคัญจำง่ายๆ
ดังนี้
1. การฝากร้านใน
Facebook, IG ถือเป็นสแปม
ปรับ 200,000 บาท
2. ส่ง
SMS โฆษณา
โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม
ปรับ 200,000 บาท
3. ส่ง
Email ขายของ
ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000
บาท
4. กด
Like ได้ไม่ผิด
พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน
เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112
หรือมีความผิดร่วม
5. กด
Share ถือเป็นการเผยแพร่
หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ
โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา
แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง
สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้
หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น
ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย
เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที
เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.สำหรับ
แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ
เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร
ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก
เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต
ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น
มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา
เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3
ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด
ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น
เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว
ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์
ดังนั้นจึงควรรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อน
ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายได้
ที่มาของข้อมูล : https://www.marketingoops.com/news/viral-update/computer-law/
ที่มาของข้อมูล : http://afsmith1992.blogspot.com/2017/07/13-60.html
พรบ. คอมพิวเตอร์ 2560 from ChaiwatChino
ที่มาของข้อมูล : https://www.youtube.com/watch?v=Ie0YHG2rjMQ
ที่มาของข้อมูล : https://www.youtube.com/watch?v=Ie0YHG2rjMQ&t=1s
ที่มาของข้อมูล : https://www.youtube.com/watch?v=Ie0YHG2rjMQ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น