ที่มาของข้อมูล : http://youngmea.com/page_bx.php?cid=21&cno=2363
ปัญหาขยะในเมืองไทย เป็นปัญหาโลกแตก เป็นเวลาหลายสิบปีที่เจ้าหน้าที่ทางราชการ
หน่วยงานวิจัย สถาบันทางการศึกษา พยายามหาหนทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะล้นเมือง
ไม่มีที่ใดยอมให้ก่อสร้างโรงกำจัดขยะใกล้ที่อยู่อาศัยของตนเอง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ทั้งๆที่เสียงบประมาณตั้งมากมายพาเจ้าหน้าที่ไปดูงานที่ต่างประเทศ
ใช้งบประมาณในการรณรงค์ให้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ มีเทคโนโลยีมากมายที่สามารถจะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ
แต่ปัจจุบันยังไม่มีที่ไหนในประเทศไทย
สามารถจัดการขยะได้อย่างครบวงจรเป็นที่พึงพอใจของคนทุกฝ่าย เพื่อให้ง่ายสรุปได้เป็นข้อๆดังนี้
1.ประชาชนยังยึดติดกับการแก้ไขปัญหาขยะแบบเดิมๆ สถานที่มีกลิ่นเหม็น
สกปรกไม่น่าชวนมอง
จนทำให้ไม่มีใครยอมที่จะให้มีการสร้างโรงกำจัดขยะในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตนเองอยู่อาศัย
เนื่องจากว่าก็ยังไม่มีที่ใดในประเทศไทย มีระบบจัดการขยะที่ประสบความสำเร็จ สะอาด
สถานที่น่าชวนมองอย่างที่ไปดูงานที่ต่างประเทศ
2.เทศบาลไม่มีแหล่งกำจัดขยะเนื่องจากสาเหตุข้อแรก
เพราะไม่รู้ว่าจะชี้แจงยังไงให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจ
จึงต้องนำขยะไปทิ้งในพื้นที่ห่างไกล นอกพื้นที่ ในป่า สถานที่รกร้าง
สร้างปัญหาให้กับชุมชนในพื้นที่นั้นๆตามมา
3.ทุกคนยังมองไม่เห็นคุณค่าของขยะเพราะว่ามีมูลค่าเล็กน้อย ไม่ทราบว่าขยะบางชนิดมีมูลค่า
เมื่อแยกขยะแล้วจะไปขายที่ไหนหรือมีวิธีใดบ้างที่จะจัดการขยะได้โดยเปลี่ยนให้เป็นรายได้เข้ามา
4.เนื่องจากทางภาครัฐยังไม่มีสถานที่และวิธีการที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาขยะ
มีการกำจัดขยะที่สามารถรองรับการแยกขยะได้ จึงทำให้โครงการรณรงค์ให้ประชนคัดแยกขยะ
ไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพียงแค่ไฟไหม้ฟางในช่วงต้นๆ
แต่เมื่อประชาชนคัดแยกขยะแล้วกลับไม่มีการเก็บขยะแบบแยก เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
ขยะเศษอาหารถูกเก็บนำไปปนกับขยะทั่วไปเช่นเดิม5.การหาวิธีการจัดการขยะยังไม่ลงลึกเพียงพอในการแก้ไขปัญหาขยะตามสถานที่อยู่อาศัยที่ต่างๆกัน บ้านเรือน
ตลาดสด อาคารพาณิชย์ โรงเรียน
อาคารสูงอย่างโรงแรมและคอนโดมิเนียม ชมชนชนบท บางที่สามารถกำจัดขยะได้ด้วยตัวเอง
บางที่ทำได้เพียงแยกขยะ ทำให้แต่ละที่จะต้องมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน
เราสงเสริมให้ประชาชนทำปุ๋ยจากขยะ แต่ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารสูง อาคารพาณิชย์
ไม่รู้ว่าจะเอาปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรเพราะไม่ได้มีพื้นที่ปลูกพืช
นี่เป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นอย่างง่ายๆ
ที่แสดงให้เห็นเด่นชัดถึงการใช้วิธีจัดการขยะอย่างไม่เหมาะสมกับสถานที่
6.เทคโนโลยีที่ใช้กำจัดขยะ สามารถกำจัดขยะได้เฉพาะขยะแยกประเภท
ไม่ว่าจะเป็นการทำปุ๋ยหมักจากขยะ การทำก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหาร
การนำขยะมาเผาเป็นพลังงานความร้อนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า
แต่ขยะที่เข้าสู่กระบวนการกำจัดยังไม่ได้แยกอย่างสมบูรณ์
ทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวประสบปัญหาในการดำเนินการ
7.การขัดผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ฝังกลบขยะ
โครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาระบบกำจัดขยะจึงถูกระงับ
ถูกต่อต้านจากชุมชนโดยมีผู้มีอิทธิผลที่เสียผลประโยชน์หนุนอยู่ภายหลัง
จากสาเหตุหลักๆเหล่นนี้ทำให้การแก้ไขปัญหาขยะ
ยังคงไม่มีความคืบหน้าและก่อให้เกิดปัญหาหนักขึ้นทุกวัน
ดังนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะจึงต้องมีการปรับเปลี่ยน แนวทาง วิธีการ
และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ที่มีสถานที่แตกต่างกัน
ใช้ลักษณะเด่นของแต่ละพื้นที่มาแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ อย่างเช่น
1.ในชุมชนที่ห่างไกลจากตัวเมือง มีพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร เป็นชุมชนที่มีความต้องการปุ๋ยหมักจากขยะเพราะต้องใช้ในการเพาะปลูก
การใช้ปุ๋ยหมักจากขยะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี
ซึ่งน่าจะมีการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อทำโครงการปุ๋ยหมักจากขยะสด
ขยะเศษผักเศษอาหาร เพื่อความยั่งยืนในการทำการเกษตร และเป็นการช่วยภาครัฐในการแก้ไขปัญหาขยะ
สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ
2.ในชุมชนเมืองใหญ่ มีปริมาณขยะเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตลาดสด
ตลาดค้าส่งสินค้าเกษตร เป็นแหล่งผลิตขยะที่สามารถย่อยสลายได้เป็นจำนวนมาก
ซึ่งขยะที่ว่านี้เป็นวัตถุดิบชั้นดีในการนำมาผลิตปุ๋ยหมักเนื่องจากมีการเจือปนของขยะชนิดอื่นเช่นพลาสติก
กระดาษ ขวดแก้ว น้อย
หากมีการทำข้อตกลงร่วมในการส่งขยะที่คัดแยกแต่เศษผักเศษอาหารให้กับกลุ่มเกษตรกร
ก็จะสามารถทำขยะที่เคยเป็นปัญหา เป็นประโยชน์ขึ้นมาได้
3.การจัดพื้นที่ให้มีการรับซื้อขยะที่สามารถรีไซเคิลได้
ประจำเดือนตามชุมชนต่างๆ โดยขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการค้าของเก่า
เริ่มต้นโดยการะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงราคาที่รับซื้อของขยะชนิดต่างๆ
สถานที่รับซื้อ และวันเวลาที่จะมารับซื้อเป็นประจำ
วีธีการนี้จะทำให้ผู้ค้าของเก่ามีผู้ใช้บริการมากขึ้น
มีปริมาณขยะที่จะนำส่งโรงงานรีไซเคิลได้มากขึ้น ประชาชนมีรายได้มากขึ้นจากการแยกขยะและเก็บสะสมขยะเพื่อจำหน่าย
เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในภาวะที่ข้าวของทุกอย่างมีราคาแพง
4.บ้านที่อยู่อาศัย มีบริเวณบ้านที่เป็นสวน สามารถแยกขยะเศษอาหารกำจัดเองได้
โดยทำบ่อฝั่งย่อยสลายเสษอาหารได้ ทำให้ขยะที่จะทำการกำจัด ไม่มีขยะเศษอาหารปนอยู่
ไม่เกิดกลิ่นเหม็น ทำให้การแยกขยะเพื่อรีไซเคิลทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ
การแยกขยะที่ต้นทางสามารถทำได้ดีกว่าการแยกขยะที่ปลายทาง
5.ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารสูงอย่าง อาคารพาณิชย์ ตึกแถว หอพัก คอนโดมิเนียม ผู้ที่อยู่อาศัยประเภทนี้ไม่สามารถกำจัดขยะด้วยตัวเองได้
เนื่องจากข้อกำจัดในพื้นที่ ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในอาคารประเภทนี้
ทำได้เพียงแยกขยะระหว่างเศษอาหาร
ขยะทั่วไปที่สามารถรีไซเคิลได้และไม่สามารถรีไซเคิลได้
ทางเทศบาลหากสามารถกำจัดแบบแยกประเภทได้ มีการทำปุ๋ยจากเศษอาหาร อาจจะทำการเก็บขยะแบบแยกประเภท
เช่น แยกสีถุง
ขยะที่ย่อยสลายได้แยกถุงเป็นอีกสีหนึ่งเพื่อเทศบาลจะได้แยกจัดเก็บเพื่อไปทำปุ๋ยต่อไป
ส่วนขยะทั่วไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้
จะแยกเก็บเป็นถุงดำเพื่อนำไปคัดแยกหรือกำจัดต่อไป
6.การเริ่มทำการกำจัดแบบคัดแยก อาจะเริ่มโดยจำกัดพื้นที่ก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเริ่มต้นประชาสัมพันธ์
อย่างเช่น การขอความร่วมมือกับ
ตลาดสดแห่งใดแห่งหนึ่งก่อนเพื่อขอขยะที่คัดแยกเฉพาะเศษผักเศษอาหารเพื่อใช้ในการทำปุ๋ย
โรงแรมแห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อให้มีการคัดแยกขยะ
ให้ห้องพักทุกห้องมีถึงขยะแยกประเภทระหว่างขยะรีไซเคิลและขยะทั่วไปเพื่อรอกำจัด
หมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่งที่จะมีการเก็บขยะแบบแยกประเภท เกษตรกรกลุ่มหนึ่งเพื่อทำปุ๋ยหมัก
เมื่อเริ่มต้นในจุดเล็กๆสำเร็จย่อมจะเป็นตัวอย่างในการดูงานให้กับพื้นที่อื่นๆที่จะนำมาเข้าร่วมโครงการต่อไป
ที่มาของข้อมูล
: https://dregsofsocietypmktbs.wordpress.com/
ผลกระทบจากขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม
ขยะ เศษวัสดุ ของเสีย มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ
เนื่องจากการขยายตัวของเมืองการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย การอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น
หากใช้วิธีกำจัดที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา
น้ำเสียจากกองขยะ ( Leachate ) มีความสกปรกสูง มีสภาพเป็นกรด มีเชื้อโรค หากน้ำจากขยะรั่ว
ไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม เป็นผลให้เกิดอันตรายและเกิดมลพิษในบริเวณที่ปนเปื้อน
ดังในแหล่งทิ้งขยะของเทศบาลต่าง ๆ ที่เอาขยะไปเทกองไว้เป็นภูเขาขยะ
น้ำจากขยะจะไหลซึมออกทางบริเวณข้างกอง ส่วนหนึ่งก็ซึมลงสู่ใต้ดิน
ในที่สุดก็ไปปนเปื้อนกับน้ำใต้ดินเกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้านที่บริโภคน้ำ
ถ้าน้ำจากกองขยะไหลซึมลงสู่แหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง ก็จะทำให้น้ำในแหล่งน้ำนั้นเน่าเสีย
ถ้าปนเปื้อนมากถึงขนาดก็จะทำให้สัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น
กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด พืชน้ำ ตายได้ เพราะขาดออกซิเจน
และขาดแสงแดดที่จะส่งผ่านน้ำ เนื่องจากน้ำมีสีดำ หากน้ำขยะมีการปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคของ
ชุมชน ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพน้ำมากขึ้น
ขยะมูลฝอยที่ทำให้เกิดมลพิษในอากาศ
กองขยะมูลฝอยขนาดมหึมาของเทศบาล จะเกิดการหมัก
โดยจุลินทรีย์ในกองขยะจะเกิดก๊าซต่าง ๆ เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
หากไม่มีการกำจัดก๊าซเหล่านี้อย่างเหมาะสม ก๊าซที่เกิดขึ้นได้แก่ มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( ก๊าซไข่เน่า ) เป็นต้น และยังมีฝุ่นละอองจากกองขยะ
ก่อให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง แก่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณ
ใกล้เคียง
ขยะมูลฝอยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์หลายประการดังต่อไปนี้
คือ
1.
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง และพาหะของโรค
ขยะ เศษวัสดุ ของเสีย มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ
เนื่องจากการขยายตัวของเมืองการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย
การอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น หากใช้วิธีกำจัดที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม
ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา
เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับขยะมูลฝอยมีโอกาสที่จะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นได้
เพราะขยะมูลฝอยมีทั้งความชื้นและสารอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ใช้เป็นอาหาร
ขยะพวกอินทรีย์สารที่ทิ้งค้างไว้
จะเกิดการเน่าเปื่อยกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน
นอกจากนั้นพวกขยะที่ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะเป็นที่อยู่อาศัยของหนู
โดยหนูจะเข้ามาทำรังขยายพันธุ์ เพราะมีทั้งอาหารและที่หลบซ่อน
ดังนั้นขยะที่ขาดการเก็บรวบรวม และการกำจัด
จึงทำให้เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญของเชื้อโรค แมลงวัน หนู แมลงสาบ
ซึ่งเป็นหาหะนำโรคมาสู่คน
2.
เป็นบ่อเกิดของโรค
เนื่องจากการเก็บรวบรวมและการกำจัดขยะมูลฝอยไม่ดี
หรือปล่อยปละละเลยทำให้มีขยะมูลฝอยเหลือทิ้งค้างไว้ในชุมชน
จะเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ตับอักเสบ เชื้อไทฟอยด์ เชื้อโรคเอดส์ ฯลฯ
เป็นแหล่งกำเนิดและอาหารของสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน เช่น แมลงวัน
แมลงสาบ และหนู เป็นต้น
3.
ก่อให้เกิดความรำคาญ
ขยะมูลฝอย
การเก็บรวบรวมได้ไม่หมดก็จะเกิดเป็นกลิ่นรบกวน กระจายอยู่ทั่วไปในชุมชน
นอกจากนั้นฝุ่นละอองที่เกิดจากการเก็บรวบรวมการขนถ่าย
และการกำจัดขยะก็ยังคงเป็นเหตุรำคาญที่มักจะได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในชุมชนอยู่เสมอ
อีกทั้งอุดจาดตาน่าขยะแขยง
4.
ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ขยะมูลฝอยเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษของน้ำ
มลพิษของดิน และมลพิษของอากาศ เนื่องจากขยะส่วนที่ขาดการเก็บรวบรวม
หรือไม่นำมากำจัดให้ถูกวิธี ปล่อยทิ้งค้างไว้ในพื้นที่ของชุมชน
เมื่อมีฝนตกลงมาจะไหลชะนำความสกปรก เชื้อโรค สารพิษจากขยะไหลลงสู่แหล่งน้ำ
ทำให้แหล่งน้ำเกิดเน่าเสียได้ และนอกจากนี้ขยะมูลฝอยยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพดิน
ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของขยะมูลฝอย ถ้าขยะมีซากถ่านไฟฉาย
ซากแบตเตอรี่ ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์มาก ก็จะส่งผลต่อปริมาณโลหะหนักพวกปรอท แคดเมียม
ตะกั่ว ในดินมาก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์ในดิน และสารอินทรีย์ในขยะ
มูลฝอยเมื่อมีการย่อยสลาย จะทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดในดิน
และเมื่อฝนตกมาชะกองขยะมูลฝอยจะ
ทำให้น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลปนเปื้อนดินบริเวณรอบ ๆ ทำให้เกิดมลพิษของดินได้
การปนเปื้อนของดิน ยังเกิดจากการนำมูลฝอยไปฝังกลบ
หรือการยักยอกนำไปทิ้งทำให้ของเสียอันตรายปนเปื้อนในดิน
ถ้ามีการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันมีสารพิษทำให้คุณภาพของอากาศเสีย
ส่วนมลพิษทางอากาศจากขยะมูลฝอยนั้น อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากมลสารที่มีอยู่ในขยะและพวกแก๊สหรือไอระเหย
ที่สำคัญก็คือ กลิ่นเหม็นที่เกิดจากการเน่าเปื่อย
และสลายตัวของอินทรีย์สารเป็นส่วนใหญ่
5.
ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อสุขภาพ
ขยะมูลฝอยที่ทิ้งและรวบรวมโดยขาดประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะมูลฝอยพวกของเสียอันตราย ถ้าขาดการจัดการที่เหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ง่าย
เช่น โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีแมลงวันเป็นพาหะ
หรือได้รับสารพิษที่มากับของเสียอันตราย
6.
เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ขยะมูลฝอยปริมาณมาก ๆ
ย่อมต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ผลกระทบจากขยะมูลฝอยไม่ว่าจะเป็นน้ำเสีย อากาศเสีย
ดินปนเปื้อนเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
7.
ทำให้ขาดความสง่างาม
การเก็บขนและกำจัดที่ดีจะช่วยให้ชุมชนเกิดความสวยงาม
มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยอันส่อแสดงถึงความเจริญและวัฒนธรรมของชุมชน
ฉะนั้นหากเก็บขนไม่ดี ไม่หมด กำจัดไม่ดี ย่อมก่อให้เกิดความไม่น่าดู ขาดความสวยงาม
บ้านเมืองสกปรก และความไม่เป็นระเบียบ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ที่มาของข้อมูล
: https://dregsofsocietypmktbs.wordpress.com/
สถานการณ์ปี
2560
ไทยมีขยะมูลฝอยทั่วประเทศเพิ่มขึ้น
สถานการณ์มลพิษประเทศไทยปีที่ผ่านมาพบว่า
สถานการณ์ฝุ่นละอองรวมถึงขยะมูลฝอยมีมากกว่าปี 2559 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของชุมชนเมือง
นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
สรุปสถานการณ์มลพิษประเทศไทยในปี 2560 ภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้นกว่าปี 2559
ทั้งคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก 59 สาย เพราะมีแม่น้ำที่เสื่อมโทรมลดลง
โดยแม่น้ำตาปีตอนบนมีคุณภาพดีที่สุด
ส่วนที่คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมอยู่ที่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
รวมถึงคุณภาพน้ำทะเลก็มีแนวโน้มดีขึ้นเช่นกัน เพราะมีการบริหารจัดการที่ดี,
บริวณที่ดีที่สุดอยู่ที่อ่าวสะพลี และอ่าวทุ่งวัวแล่น จ.ชุมพร
ส่วนคุณภาพอากาศก็ดีขึ้น
สารมลพิษที่ยังเป็นปัญหามากที่สุดในปีที่ผ่านมา คือ ฝุ่นละออง อยู่ที่ ต.พระลาน
จ.สระบุรี จากที่เกินมาตรฐานถึง 107 วันใน 1 ปี
สาเหตุเกิดจากการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองการเหมืองหิน โรงโม่และการขนส่งในพื้นที่
การจัดการขยะมูลฝอย ดีขึ้นจากปี 2559
แต่ปริมาณขยะยังเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของชุมชนเมือง
โดยปี
2560 ปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศมี 27.40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มี 27.06
ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 1.26 หรือ 120,000 ตัน
ขณะที่อัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อคนลดลงจาก 1.14 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี 2559 แต่ปี
2560 ลดลง อยู่ที่ 1.13 กิโลกรัม/คน/วัน
ส่วนการกำจัดขยะมูลฝอยถูกต้องเพิ่มขึ้นจาก 9.57
ล้านตัน ปี 2559 เป็น 11.70 ล้านตัน ในปี 2560
และยังนำกลับมาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจาก 5.80 ล้านตัน เป็น 8.52 ล้านตัน
ที่มาของข้อมูล
: http://news.ch3thailand.com/local/60642
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น